วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กรดไหลย้อน สาเหตุ และ วิธีรักษา

กรดไหลย้อน คืออะไร?

      กรดไหลย้อน คือภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นมากัดกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารจนเกิดการหย่อนและอักเสบ ซึ่งบริเวณของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารอยู่ตรงกับตำแหน่งหน้าอกพอดี ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจึงมีอาการหลักคือแสบร้อนกลางอก จุกแน่นหน้าอก กลืนลำบาก อาหารไม่ย่อย หากปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง อาจมีอาการอื่นๆแทรกซ้อน เช่น โรคไส้เลื่อนกระบังลม, มะเร็งหลอดอาหาร, หูรูดหลอดอาหารอักเสบ เป็นต้น


สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

     สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน คือ กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ไม่ดี ไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์ ในทางแพทย์แผนโบราณคือ ธาตุไฟย่อยอาหาร (ไฟปริณามัคคี) หย่อน อาหารที่ย่อยไม่หมดตกค้างในกระเพาะ ลำไส้ก็เกิดการบูดเน่า เกิดเป็นลมแก๊สดันตัวขึ้นมาพร้อมน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจึงมีอาการเรอบ่อย เรอเปรี้ยว ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะการเสื่อมหรือหย่อนของการย่อยอาหารมีดังนี้

 1. พฤติกรรมกินเร็ว กินไม่ตรงเวลา กินอาหารย่อยยาก พฤติกรรมเหล่านี้หากทำสะสมนานๆ ทำให้กระเพาะอาหารค่อยๆทำงานหนักขึ้น เพราะกระเพาะต้องหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าเดิมเพื่อย่อยอาหารชิ้นใหญ่ๆที่ย่อยยาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะอาหาร

2. กินแล้วนอน วิถีชีวิตและพฤติกรรมการทานอาหาร ในปัจจุบันแตกต่างกับในสมัยก่อน การทานอาหารมื้อดึกกลายเป็นส่วนนึงของการใช้ชีวิต สิ่งที่ตามมาคือการกินแล้วนอนทันที ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ก่อโรคกรดไหลย้อน เพราะทันทีที่เราเอนตัวนอนในระหว่างที่กระเพาะยังย่อยอาหารไม่เสร็จ (โดยทั่วไปคือ 3-4 ชั่วโมง) น้ำย่อยในกระเพาะจะไหลย้อนขึ้นมาตามแรงโน้มถ่วงทันที การกินแล้วนอนสะสมเป็นระยะเวลานานๆ จึงทำให้น้ำย่อยค่อยๆกัดหูรูดหลอดอาหารจนเกิดการอักเสบนั่นเอง

3. ทานอาหารไม่ถูกกับร่างกาย ทานอาหารไม่สมดุลย์ เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ลำไส้แห้ง ทานเนื้อสัตว์บ่อยๆ ไม่ทานผักผลไม้ รวมถึงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

4. ความเครียด กังวล นอกจากทำให้สุขภาพจิตเสียแล้ว ยังกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหารอีกด้วย เนื่องจากภาวะเครียด วิตกกังวลส่งผลต่อตับโดยตรง

5. ความเสื่อมของอวัยวะภายใน เนื่องจากอายุมากขึ้น ซึ่งมักพบในผู้สูงวัย เนื่องจากอวัยวะภายในเริ่มเสื่อมสภาพไปตามช่วงวัยอายุ จึงทำให้ระบบการย่อย การดูดซึมทำงานได้ไม่สมบูรณ์เป็นผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายกว่าวัยรุ่นหรือวัยกลางคน

อาการของกรดไหลย้อนมี 3 ระยะคือ ...

ระยะที่ 1 ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ท้องอืด จุกแน่นท้อง ท้องแข็ง มีลมและแก๊สในท้อง

ระยะที่ 2 ปัญหาลำไส้
ท้องอืดมาก มีแก๊สและลมดันขื้นมา อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย ขมคอ มีกลิ่นปาก เหนื่อยง่าย หายใจไม่สุด จุกแน่นกลางอก ถ่ายไม่ปกติ ท้องผูกสลับท้องเสีย

ระยะที่ 3 สารอาหารในเลือดเหลือน้อย
จุกแน่นบริเวณท้องจนถืงอก หายใจไม่สุดเหนื่อยง่าย จุกแน่นอยากอาเจียน ปวดริเวณขมับศีรษะด้านข้าง หรือท้ายทอยบ่อยๆ หลับไม่สนิท หายใจสั่น หิวบ่อยๆ กลืนไม่ค่อยลง ชาปลายมือปลายเท้า ไม่ค่อยมีแรง มึนหัวบ่อย หน้ามืด ง่วงนอน อ่อนเพลีย ไมเกรน ถ่ายไม่ปกติ,ถ่ายไม่หมด เริ่มโทรมและผอมลง ปจว.มีเลือดออก




วิธีแก้ และ รักษา

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมข้างต้น เป็นทั้งการบรรเทาและป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ เพราะโรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุหลักมาจาพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิต ซึ่งการปรับพฤติกรรมนั้น อาจทำได้ด้วยการ ทานอาหารให้ช้าลง 

2. การทานยาแผนปัจจุบันเพื่อบรรเทาและระงับอาการ เช่น ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ซึ่งยาเหล่านี้ถูกสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะสำหรับการใช้เพื่อบรรเทาอาการในระยะเวลาสั้นๆ หากอาการหายแล้ว ก็สามารถหยุดทานได้

3. การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยยาสมุนไพร ซึ่งแนวทางการรักษาด้วยยาสมุนไพร จะใช้ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขับลม บำรุงกระเพาะ บำรุงน้ำดี ฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร รวมถึงการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการสมานแผลในกระเพาะและการลดการอักเสบภายใน